การหย่าร้าง

G.A.M. Legal Alliance > การหย่าร้าง

กฎหมายครอบครัวในการแต่งงาน

ชายและหญิงมีสิทธิแต่งงานได้ก็ต่อเมื่ออายุครบสิบเจ็ด (17) ปีบริบูรณ์ และการแต่งงานจะสมบูรณ์ตามกฎหมายได้ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนที่สำนักงานอำเภอ ภายใต้กฎหมายซึ่งบังคับใช้ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ศาลอาจไม่อนุญาตในการจดทะเบียนสมรสดังกล่าว หากมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้:

  1. ถ้าเจ้าสาวหรือเจ้าบ่าวเป็นคนวิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถ
  2. ถ้าพวกเขามีความเกี่ยวข้องกันในทางสายเลือด
  3. ถ้าพวกเขามีความสัมพันธ์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา
  4. ถ้าหนึ่งหรือทั้งสองของพวกเขามีคู่สมรสอยู่แล้ว
  5. ถ้าพวกเขามีความสัมพันธ์แบบบุตรบุญธรรม

ในกรณีที่การจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศระหว่างคู่สมรสที่เป็นคนไทยด้วยกันเองหรือคู่สมรสระหว่างคนไทยและชาวต่างชาติ การแต่งงานดังกล่าวจะยังคงอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทยโดยมีเงื่อนไขว่า การแต่งงานนั้นต้องจดทะเบียน ณ สถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยในประเทศที่ได้แต่งงาน

กฎหมายครอบครัว ว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินของสามีและภรรยา

ซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวของคู่สมรส ที่ได้กำหนดไว้ตามกฎหมายไทย หากไม่มีการทำสัญญาก่อนสมรสที่ ระบุเงื่อนไขใดๆไว้ ทรัพย์สินซึ่งจะถือว่าเป็น “สินส่วนตัว” หรือ ทรัพย์สินส่วนบุคคล จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มา ก่อนที่จะแต่งงาน เช่น เครื่องแต่งกาย หรือ เครื่องประดับ หรือเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่นเดียวกับทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาจากมรดกในระหว่างสมรสหรือ เป็ขวัญส่วนตัว เช่น ของหมั้น

ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างหรือหลังจากการแต่งงานก็ถือว่า เป็น “สินสมรส” หรือ ทรัพย์สินส่วนตัว ซึ่งเหล่านี้ได้มาจากคู่สมรสทั้งในระหว่างการแต่งงานอาจรวมถึง ดอกผลของทรัพย์สินส่วนตัว ของคู่สมรส
ในกรณีที่การสมรส ถือว่าเป็น โมฆะ บรรดาทรัพย์สินต่างๆที่คู่สมรสครอบครองหรือได้มา ไม่ว่าก่อนหรือหลังการสมรส รวมไปถึงดอกผลของทรัพย์สินดังกล่าว จะถือเป็นสินส่วนตัวระหว่างทั้งสองฝ่าย ในส่วนของทรัพย์สินที่ได้มาร่วมกันในระหว่างสมรส จะถูกแบ่งออกโดยเท่ากันระหว่างทั้งสองฝ่าย

กฎหมายครอบครัวว่าด้วยเรื่องการหย่าร้าง

การหย่าร้างหรือการเลิกการสมรส คือการเลิกขั้นสุดท้ายของการสมรสทั้งหมด ยกเลิกภาระหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมาย และยกเลิกข้อผูกมัดต่างๆของการแต่งงานระหว่างคู่สมรส

การหย่าร้างของไทยสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภท :

การหย่าโดยความยินยอมร่วมกันหรือการหย่าโดยไม่โต้แย้ง – หากสามีและภรรยาตัดสินใจที่จะยุติการสมรสของพวกเขา คู่สามีและภรรยาก็ต้องไปที่สำนักงานอำเภอเดียวกันกับที่พวกเขาได้จดทะเบียนสมรสในครั้งแรกเพื่อที่จะกรอกแบบฟอร์มตามกฎหมายเพื่อเลิกการสมรสของพวกเขา กระบวนการดังกล่าวสามารถทำได้ภายใน 1 วัน ทั้งนี้พวกเขาก็จะต้องไปที่อำเภอเดียวกับที่พวกเขาลงทะเบียนการแต่งงานของพวกเขาเพื่อให้เป็นระเบียบแบบแผนกฎหมายและการสลายตัวของการแต่งงาน กระบวนการสามารถทำได้ใน 1 วัน คู่สามีและภรรยาสามารถร่างข้อตกลงไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับการหย่าร้างซึ่งระบุเงื่อนไขเกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การเลี้ยงดูคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง และการแบ่งทรัพย์สินหลังการหย่าร้าง เพื่อที่จะนำข้อตกลงดังกล่าวไปจดทะเบียนที่สำนักงานอำเภอเมื่อมีการหย่าร้าง

การฟ้องหย่า – หากไม่สามารถหย่าร้างโดยความยินยอมร่วมกันทั้งสองฝ่าย เพราะอีกฝ่ายหนึ่งปฏิเสธที่จะหย่า หรือไม่สามารถตามหาหรือติดต่อเพื่อให้มาทำการหย่าร้างได้ คู่สัญญาฝ่ายที่ต้องการหย่าร้างสามารถยื่นคำร้องต่อศาลโดยอ้างเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมาย

เหตุฟ้องหย่าในประเทศไทยมีดังต่อไปนี้

  1. เมื่อสามีหรือภรรยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันสามีหรือภริยา
  2. สามีหรือภรรยาประพฤติชั่ว
  3. สามีหรือภรรยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจอีกฝ่าย
  4. สามีหรือภรรยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี
  5. สามีหรือภรรยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือหายไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร
  6. สามีหรือภรรยาไม่ให้ความช่วยเหลือ หรืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
  7. สามีหรือภรรยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี
  8. สามีหรือภรรยาเป็นโรคติดต่อร้ายแรงอันเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
  9. สามีหรือภรรยามีสภาพแห่งกาย ที่ทำให้สามีหรือภรรยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การสิ้นสุดการสมรสโดยการหย่าร้างจะดำเนินการได้เฉพาะกรณีได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่ายหรือโดยมีคำสั่งศาล และต้องดำเนินการที่สำนักงานอำเภอที่ได้จดทะเบียนสมรสไว้ ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการหย่าร้าง คู่สมรสฝ่ายนั้นอาจยื่นคำร้องขอหย่าร้างต่อศาล

หลังจากที่การหย่าร้างเสร็จสมบูรณ์ ทรัพย์สินของสามีหรือภริยาจะถูกแบ่งแยกออกจากกัน ในกรณีสินส่วนตัวซึ่งได้มาก่อนการสมรส จะคืนกลับเป็นของคู่สมรสแต่ละฝ่าย ส่วนในกรณีสินสมรสซึ่งได้มาระหว่างสมรส ให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ในส่วนเท่ากัน

 

สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร

สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรในประเทศไทย

สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรในประเทศไทยอาจใช้ระยะเวลานานในการขอทำเรื่องและเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจากเมื่อคู่สมรสซึ่งมีบุตรด้วยกัน จะทำการหย่าร้างกันหรือตัดสินใจแยกทางกัน หรือเมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีบุตรนอกสมรส การร้องขอสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นจึงเป็นสิ่งแรกๆของกระบวนการทางกฎหมาย

คำแนะนำสำหรับบุคคลที่มิใช่สัญชาติไทย ผู้ที่มีปัญหาเรื่องสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรในประเทศไทยนั้น คุณควรที่จะปรึกษาทนายความในประเทศไทยในเรื่องดังกล่าวนี้ เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำทางกฎหมายที่เหมาะสม บทความนี้เพียงเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น เพื่อให้คุณสามารถนำมาคิดวิเคราะห์ และจดจำสาระสำคัญเพื่อรับมือและแก้ไขกับปัญหาในทางกฎหมายครอบครัวในประเทศไทย

คำถามสำคัญที่มักจะถามกันบ่อยๆ 3 ข้อ

# 1 ข้าพเจ้าสามารถมีสิทธิในการรับอุปการะเลี้ยงดูบุตรในประเทศไทย โดยผ่านข้อตกลงการยินยอมร่วมกันได้หรือไม่?

กรณีที่สามารถรับสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดู (1) มีความยินยอมร่วมกันจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องและ (2) โดยคำสั่งของศาล

ดังนั้นใช่ การยินยอมร่วมกันเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ในกรณีที่คู่สมรสจะหย่าร้างกันโดยไม่มีการโต้แย้ง คู่สมรสอาจทำข้อตกลงการหย่าร้าง ซึ่งกำหนดวิธีการอุการะเลี้ยงดูบุตรระหว่างคู่สมรสเอง กรณีที่ชายและหญิงมิได้ทำการสมรสกันฝ่ายหญิงมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการอุปการะเลี้ยงบุตร ถ้าฝ่ายชายต้องการสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร ก็จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายเพื่อพิสูจน์สิทธิของตน สิ่งที่สำคัญที่ควรทราบไว้คือ สิทธิของมารดาผู้ให้กำเนิดบุตร สิทธิดังกล่าวจะได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติในประเทศไทย แต่ในทางกลับกัน สิทธิของบิดาในเด็กที่เกิดจากหญิงซึ่งเป็นคู่สมรสจะไม่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย บิดาจึงสามารถเข้าทำข้อตกลงในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้

# 2 ในกรณีที่มิได้ทำข้อตกลงในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ฉันสามารถอุปการะเลี้ยงดูบุตรของฉันได้หรือไม่?

กรณีนี้เป็นกรณีที่สถานการณ์เริ่มยุ่งยากและต้องการความอดทนและความตั้งใจอย่างมาก ซึ่งทนายความในประเทศไทยจะให้ข้อมูลแก่คุณ ในกรณีที่เป็นคู่สมรสจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ผู้พิพากษาซึ่งดูแลในคดีฟ้องหย่ามีอำนาจตัดสินใจในเรื่องอำนาจการอุปการะเลี้ยงดูบุตร ส่วนในกรณีชายและหญิงที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรโดยชอบตามกฎหมายก็ต่อเมื่อบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร แต่อย่างไรก็ตาม เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาอนุญาตตามคำร้อง หรือปฎิเสธคำร้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน

นอกเหนือจากการได้สิทธิทางกฎหมายในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรแล้ว ศาลครอบครัวและเยาวชนในประเทศไทยมีอำนาจในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ก่อให้เกิดการสนับสนุนเด็ก, การเยี่ยมเยียนเด็ก, ยกเลิกสิทธิการปกครองเด็ก ศาลเยาวชนและครอบครัวในประเทศไทยสามารถยกเลิกการอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าระหว่างหรือหลังจากการหย่าร้าง หรือระหว่างการพิจารณาคำร้อง ในกรณีที่ผู้ที่ได้รับสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นบุคคลไร้ความสามารถ, ประพฤติมิชอบซึ่งไม่สมควรแก่หน้าที่, ใช้สิทธิดังกล่าวโดยมิชอบ สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในกรณีที่บิดามารดาซึ่งปราศจากสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร หรือพนักงานอัยการซึ่งกระทำการในนามของเด็ก ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาล

# 3 ฉันควรทำอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่าฉันจะชนะและมีสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรในประเทศไทย?

มีทนายความไทยที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องกฎหมายครอบครัวไทย ซึ่งจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้

ไม่ว่าคุณจะมาจากประเทศใด กรณีสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร เป็นเรื่องทียากเย็นและต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาอย่างยาวนาน หากคุณเลือกทนายความที่ ใช่ สำหรับคุณ ก็เสมือนว่า คุณได้มีความพร้อมในกระบวนการทางกฎหมายเป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งจะช่วยให้คุณรู้วิธีการนำเสนอตนเอง และหลักการพูดในกระบวนพิจารณาของศาล โดยทนายความที่ดีนั้น ต้องตระหนักถึงความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคดีของคุณได้ ซึ่งในที่สุดแล้วคุณก็ต้องการทนายความคนไทยที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่ยาวนาน และพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคได้ทุกเรื่องให้กับคุณนั่นเอง

 

เลือก สำนักงาน กฎหมายที่ “ใช่” เพื่อช่วยเหลือคุณ

G.A.M. Legal Alliance สามารถช่วยคุณแก้ปัญหาการอุปการะบุตรในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์การการทำงานด้านกฎหมายครอบครัว เราจะช่วยแนะนำใน ทีละขั้นตอน และแนะนำสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่ลูกของคุณ ติดต่อเราวันนี้ที่เบอร์โทร 02 611 2881 -2 ร่วมพูดคุยกับทนายความของเรา และแวะเยี่ยมชมสำนักงานของเราได้ เราพร้อมให้คำปรึกษาฟรี!

Leave a Reply