สัญญาก่อนสมรสในประเทศไทย

G.A.M. Legal Alliance > สัญญาก่อนสมรสในประเทศไทย

บทความนี้ สามารถบังคับใช้ได้ในกรณีที่ก่อนสมรสเท่านั้น และหมายรวมถึงข้อตกลงพิเศษ (สัญญาก่อนสมรส) ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของคู่สามีภรรยา สัญญาก่อนสมรสจะถือเป็นโมฆะในกรณี:

ถ้าข้อความใดในสัญญาก่อนสมรสขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือระบุให้ใช้กฎหมายอื่นบังคับเรื่องทรัพย์สินนั้น

สัญญาก่อนสมรสในประเทศไทย

สัญญาก่อนสมรสในประเทศไทย

ถ้ามิได้จดแจ้งข้อตกลงกันเป็นสัญญาก่อนสมรสนั้นไว้ในทะเบียนสมรส พร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือมิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคนแนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส

เมื่อสมรสแล้วจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสนั้นมิได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสแล้ว ให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนสมรส เพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส

ข้อความในสัญญาก่อนสมรส ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต

ทรัพย์สินของคู่สมรส: สินส่วนตัว และสินสมรส

ทรัพย์สินของสามีและภรรยาสามารถแบ่งออกเป็น “สินส่วนตัว” และ “สินสมรส”
สินส่วนตัว ได้แก่ทรัพย์สิน:

– ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส

– ทรัพย์สินที่เป็นของใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

– ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา

– ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น

สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่น ซื้อทรัพย์สินอื่นมา หรือขายได้เงินมา ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นถือ เป็นสินส่วนตัว
สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใด ให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ

 

สินสมรสได้แก่:

– ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส

– ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส

– ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือไม่ ให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส

หนี้ที่สามีหรือภรรยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้น ให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส ดังต่อไปนี้

– หนี้ที่เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ

– หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส

– หนี้สินที่เกิดขึ้นเนื่องจากงานที่สามีหรือภรรยาทำด้วยกัน

– หนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน

 

คนที่จะสามารถทำสัญญาก่อนสมรสได้? หากคุณเป็นบุคคลที่อยู่ในประเภทดังต่อไปนี้

– คุณมีทรัพย์สิน เช่น บ้าน, หุ้น หรือเงินเกษียนอายุ

– เป็นเจ้าของธุรกิจหรือเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ

– คุณอาจได้รับมรดก

– คุณมีลูกหรือลูกหลานจากการแต่งงานก่อนหน้านี้

– ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร่ำรวยมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง

– ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำต้องส่งค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง

– คุณมีคนที่คุณรักและจำเป็นที่จะต้องดูแล เช่นพ่อแม่ผู้สูงอายุ

– คุณมีหรือได้รับปริญญาหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในอาชีพที่ร่ำรวย เช่น เภสัชกร

– คุณมีเกณฑ์ที่จะได้รับรายได้อีกมหาศาล เนื่องจากกิจการของคุณจะถูกขายให้ผู้อื่น

สัญญาก่อนสมรสในประเทศไทย โดย G.A.M. Legal Alliance

สัญญาก่อนสมรสในประเทศไทยที่ร่างโดยทนายความผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คุณมั่นใจว่า
เนื้อหาที่ระบุไว้ในสัญญานั้น ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งในเขตอำนาจของศาลในประเทศไทยและในต่างประเทศ คุณสามารถมั่นใจได้ว่าทรัพย์สินของคุณจะได้รับการคุ้มครองอย่างดีที่สุด รวมไปจนถึงการลงทุน และทรัพย์สินอื่นๆ
สำนักงานกฎหมายของเราให้บริการร่างสัญญาก่อนสมรส ซึ่งมีแพคเกจดังต่อไปนี้

  • ให้คำปรึกษาฟรี
  • สัญญาก่อนสมรสทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ให้คำอธิบายเกี่ยวกับสัญญาก่อนสมรสให้กับคู่หมั้นไทยของคุณโดยทนายความของเรา
  • การลงนามในสัญญาก่อนสมรส
  • จดทะเบียนสัญญาก่อนสมรส ในกรณีที่ได้แต่งงานในประเทศไทย

ทนายความของเรามีความเชี่ยวชาญในการร่างและจัดทำสัญญาก่อนสมรส เหมาะกับลูกค้าที่มีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง นอกจากนั้นเรามีประสบการณ์ในการร่าง สัญญาก่อนสมรสในระดับสากล เช่น ในสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ยุโรป, ออสเตรเลียและไทย กรุณาให้เราและทีมงานมืออาชีพได้ช่วยให้คุณทำสัญญาก่อนสมรสของคุณอย่างเรียบร้อยสมบูรณ์

ดูเพิ่มเติมจดทะเบียนสมรสและการหย่าร้างในประเทศไทย

Leave a Reply