ถือได้ว่าประเทศไทยนั้น เป็นสวรรค์ของคู่รักเลยก็ว่าได้ เพราะประเทศไทยได้ต้อนรับคู่รักจากทั่วโลกทุกปีเป็นจำนวนมาก ด้วยสถานที่ฮันนีมูนที่พร้อมสรรพ พิธีการแต่งงานและสถานที่จัดงานแต่งงาน สิ่งเหล่านี้ดึงดูดบรรดาคู่รักมากมายให้เข้ามาทำพิธีแต่งงานในดินแดงแห่งรอยยิ้มแห่งนี้
ไม่เพียงแต่การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยจะโรแมนติกเท่านั้น แต่ยังสะดวกสบาย และค่าใช้จ่ายในการแต่งงานระหว่างคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติทั้งสองฝ่าย และคู่สมรสที่ฝ่ายหนึ่งเป็นชาวต่างชาติและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนไทย ยังทำได้ในราคาเท่ากันอีกต่างหาก
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นที่ทำให้ชาวต่างชาติต่างพากันมาจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยนั่นคือ การแต่งงานในประเทศไทยได้รับการยอมรับอย่างสากลทั่วโลกตามกฎหมาย เมื่อคุณทำการสมรสถูกต้องตามกฎหมายไทยแล้ว การสมรสดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ ผูกพันและได้รับการยอมรับในระดับสากลอีกด้วย
ตามกฎหมายไทย สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักถึง นั่นคือ พิธีหมั้น พิธีแต่งงาน และการจดทะเบียนสมรสนั้น มีความเป็นอิสระแยกออกจากกัน กล่าวคือ คุณสามารถข้ามพิธีทั้งหมดและตรงไปจดทะเบียนสมรสได้ที่ว่าการอำเภอได้เลย ซึ่งคุณมั่นใจได้ว่าการแต่งงานของคุณนั้นถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถออกใบทะเบียนสมรสให้คุณได้ ดังนั้น พิธีแต่งงานจึงไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องมีในการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย
การจดทะเบียนสมรสภายใต้กฎหมายไทยนั้น สามารถทำได้ง่ายและ ตรงไปตรงมา หาก คุณได้เตรียมเอกสารที่จำเป็นทั้งหมดมาแล้วอย่างถูกต้อง คุณไม่จำเป็นที่จะต้องแต่งกายอย่างเป็นทางการใด ๆ สิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำก็คือ นำเอกสารที่จำเป็นทั้งหมดและคนรักมาพร้อมกันที่ ที่ว่าการอำเภอในประเทศไทย เรียกในภาษาไทยว่า “อำเภอ” เมื่อถึงที่นั่นแล้ว คุณก็แค่กรอกแบบฟอร์มและลงลายมือชื่อของคุณต่อหน้านายทะเบียน หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการจดทะเบียน คุณจะได้รับสำเนาใบทะเบียนสมรสจำนวน 2 ใบ และ ณ ตอนนี้ คุณและคนรักก็ถือว่าเป็นสามีและภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
ก่อนที่จะดำเนินการกับ “อำเภอ” เพื่อจดทะเบียนสมรส เอกสารที่คุณต้องเตรียมมีดังต่อไปนี้
– สำหรับคนไทย: บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน
– สำหรับชาวต่างชาติ: หนังสือเดินทางพร้อมกับแสตมป์ของด่านตรวจคนเข้าเมือง (แสตมป์ติดกับหนังสือเดินทางของคุณโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเมื่อคุณเดินเข้ามาในประเทศไทย)
– หนังสือรับรองเสรีภาพในการแต่งงานจากสถานทูต: เอกสารฉบับนี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้หากคุณเป็นชาวต่างชาติ ที่ประสงค์จะแต่งงาน เอกสารฉบับนี้จะรับรองว่าบุคคลดังกล่าว โสด/ไม่ได้แต่งงานกับบุคคลอื่น ตามกฎหมายไทย หนังสือรับรองเสรีภาพในการแต่งงาน (ชื่อที่เรียกจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละสถานทูต) จะต้องออกให้โดยสถานทูตของชาวต่างชาติในประเทศไทย โปรดทราบว่า แต่ละสถานทูตจะมีเอกสารที่จำเป็นต้องใช้แตกต่างกัน คุณควรติดต่อไปยังสถานทูตล่วงหน้าเพื่อที่จะสอบถามถึงเอกสารที่จะเป็นต้องใช้ เวลาในการดำเนินการและค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับแต่ละสถานทูต ในบางสถานทูตหนังสือรับรองฯอาจได้ในวันเดียวกัน ในขณะที่บางสถานทูตอาจใช้เวลาเป็นวันหรือสองวัน เมื่อเอกสารรับรองดังกล่าวได้ออกโดยสถานทูตแล้ว จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทย และเอกสารที่ได้รับการแปลแล้วต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศในประเทศไทยด้วย
– หนังสือรับรองการหย่าหรือใบมรณบัตร(ถ้ามี): หากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้แต่งงานมาก่อน จำเป็นต้องแสดงหนังสือรับรองการหย่าต่อเมื่อการแต่งงานนั้นได้สิ้นสุดลงโดยการหย่าร้างแล้ว หรือในกรณีใบมรณะบัตร จำเป็นต้องแสดงต่อเมื่อการแต่งงานได้สิ้นสุดลงเมื่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ตายลง สำหรับชาวต่างชาติ หนังสือรับรองนี้จำเป็นก็ต่อเมื่อได้ร้องขอหนังสือรับรองเสรีภาพในการแต่งงานจากสถานทูต และในขั้นตอนที่คุณจดทะเบียนสมรส
– ใบรับรองแพทย์: หญิงใดที่จะแต่งงาน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีใบรับรองแพทย์เพื่อแสดงในขณะจดทะเบียนสมรส ในกรณีที่หญิงนั้นได้มีการหย่าร้าง หรือเป็นหม้าย ภายในระยะเวลา 310 วัน ใบรับรองแพทย์จะต้องออกให้โดยแพทย์ผู้มีใบรับรอง ซึ่งรับรองว่าหญิงดังกล่าวมิได้ตั้งครรภ์
นี้เป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบุคคลไทยที่จะมีการแต่งงาน ถ้าเขา / เธอได้เปลี่ยนชื่อของเขา / เธอมาก่อน
– เอกสารรับรองการเปลี่ยนชื่อ (สำหรับคนไทย): นี้เป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะสำหรับคนไทย ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อมาก่อนหน้านี้
แม้การจดทะเบียนสมรสในไทยจะมีความเรียบง่าย การที่คุณจะทำพิธีแต่งงานด้วยตัวของคุณเองนั้น อาจเป็นการเสียเวลาอย่างมาก ซึ่งคุณจะต้องเดินทางไปยังสถานทูตเอง เดินทางไปหาสถานที่แปลเอกสารและไปยังกระทรวงต่างประเทศ เราขอแนะนำบริการของ จี เอ เอ็ม ลีเกิ้ล อัลลัยแอนส์ ให้เราได้ดูแลงานเอกสารเหล่านี้ให้คุณ เพื่อให้คุณมีเวลาไปเพลิดเพลินกับกิจกรรมอื่นๆได้ เช่นวางแผนพิธีมงคลสมรส และ แผนการฮันนีมูนของคุณ
แพคเกจพิเศษของเรายังรวมถึงการบริการระดับห้าดาว ในการพาคุณไปที่สถานทูตและสำนักงานอำเภอ; และให้ความช่วยเหลือโดยทนายความของเราให้กับคุณและแนะนำคุณตลอดกระบวนการ
สัญญาก่อนสมรส – นี้จะแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการที่จะปกป้องสมบัติส่วนตัวของคุณ การออมและการลงทุนว่าเป็นสินสมรสในกรณีของการหย่าร้าง
วีซ่าแต่งงานไทย – สำหรับผู้ที่ต้องการที่จะตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยหลังจากการแต่งงานของคุณกับคู่หมั้นคนไทย
วีซ่าการตั้งถิ่นฐานของชาวต่างชาติ – ไม่ว่าคุณจะวางแผนที่จะพาภรรยาชาวไทยไปยังสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลียหรือยุโรป มีบริการวีซ่าต่างประเทศในการบริการของเราจะสามารถแนะนำคุณตลอดกระบวนการ